ภูเก็ต

phuket2

ย่านรวมตึกเก่าโบราณสไตล์ชิโน-โปรตุกีส

ย่านรวมตึกเก่าโบราณสไตล์ชิโน-โปรตุกีส คุณจะพบกับเสน่ห์ของตัวอาคารที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ตกแต่งด้านหน้าอาคารด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรปอย่างสวยงาม มีร้านขายผ้าปาเต๊ะ ผ้าลูกไม้ ร้านกาแฟ โรตีมะตะบะ และอีกมากมายให้แวะกันอย่างจุใจ นอกจากนี้ยังสามารถเดินชมซุ้มโค้งแบบโรมัน บานหน้าต่าง ช่องแสงลวดลายเรขาคณิตยุคอาร์ตเดโคสุดสวย
w3

แหลมพรมเทพ

 

หากใครไปภูเก็ตแล้วไม่ได้มาชมอาทิตย์ตกที่ แหลมพรหมเทพ ถือว่ามาไม่ถึง แหลมพรหมเทพจัดเป็นหนึ่งในจุดชมอาทิตย์ตกก่อนใครที่สวยที่สุดในเมืองไทย เป็นจุดชมวิวที่สวยงามของภูเก็ตอยู่ห่างจากหาดราไวย์ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่าแหลมเจ้า มีลักษณะเป็นแหลมโค้งไล่ระดับทอดตัวสู่ท้องทะเล รอบข้างแวดล้อมด้วยต้นตาลที่ขึ้นแทรกอยู่เรียงราย สามารถเดินไปจนถึงปลายแหลมได้ มองเห็นน้ำทะเลสีเขียวมรกต และสามารถเห็นเกาะแก้วอยู่ด้านหน้าแหลม ส่วนด้านซ้ายจะมองเห็นหาดในยะซึ่งเป็นหาดเล็กๆ ทางขวาจะเห็นแนวหาดทรายของหาดในหาน   นักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเที่ยวหรือพักที่หาดใด พอช่วงใกล้เย็นพากันมาชมพระอาทิตย์ตกที่แหลมพรหมเทพ หากมาเที่ยวในวันที่อากาศดี ท้องฟ้าเปิด มีเมฆน้อย บรรยากาศพระอาทิตย์ตกที่แหลมพรหมเทพจะสวยงามมาก หากมาในฤดูร้อนมีทุ่งหญ้าสีทองขึ้นปกคลุมสวยงามมาก มองเห็นเกาะแก้วน้อย เกาะแก้วใหญ่และเกามัน ส่วน ในฤดูฝนจะเป็น เป็นสีเขียวรอบๆ แหลมพรหมเทพเป็นโขดหินขนาดใหญ่ยามคลื่นลมแรงจะเห็นฟองคลื่นสีขาวกระทบโขดหินซึ่งสวยงามมาก

 

p17b86ag2s1moebar1fogqp017795

 

วัดฉลอง (วัดไชยธาราราม)

วัดเก่าแก่ที่ชาวภูเก็ต และชาวพุทธทั่วไป ทั้งใน และนอกประเทศ เคารพศรัทธา พากันมากราบไหว้อยู่เนืองๆ ทั้งนี้ด้วยเชื่อกันว่า ใครที่มาไหว้พระ และทำบุญที่วัดนี้แล้ว จะเกิดศิริมงคลแก่ตัว สภาพภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื่น ลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา ทั้งปีมี 2 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ช่วงที่มีอากาศดีที่สุดคือ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่มีท้องฟ้าแจ่มใส ภาษาของท้องถิ่นจังหวัดนี้เป็นภาษาปักษ์ใต้ ที่มีเอกลักษณะของตนเอง อาชีพของพลเมืองมีทั้งด้านการเกษตรและสวนยางพารา การอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ดีบุก การทำยางแผ่นรมควัน การทำปลาบ่น ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางมาก มีโรงแรมที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน งานประเพณี ท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร จัดขึ้นทุกปี ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึก